วันอาทิตย์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

การบันทึกครั้งที่ 5
วันอังคาร ที่ 21  กุมภาพันธ์ พ.ศ.2560
เวลา 08.00 - 13.30 น.


โรงเรียนเกษมพิทยา แผนกอนุบาล



                     การศึกษาดูงานในครั้งนี้ที่โรงเรียนเกษมพิทยา แผนกอนุบาล มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเรียนรวมของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ โดยดิฉันได้ศึกษาพฤติกรรมของน้องคนหนึ่ง ซึ่งมีรายละเอียดในการศึกษา ดังต่อไปนี้

ชื่อ น้องเอ (นามสมมุติ)
อายุ 7 ขวบ
ประเภท ออทิสติก

พฤติกรรมที่เห็น : น้องเดินเขย่งเท้า ไม่พูดคุยกับเพื่อนหรือบุคคลรอบข้าง มีโลกส่วนตัวของตนเอง น้องนั่งร่วมกันกับเพื่อนๆในชั้นเรียนได้ เมื่อเพื่อนในชั้นเรียนทำกิจกรรมน้องจะเดินไปตามมุมต่างๆในห้องเรียนคนเดียว มีหยุดและนั่งมองพัดลมเป็นเวลานาน โดยจะมีคุณครูคอยดูแลอย่างใกล้ชิดเสมอ 1 คน 

การสัมภาษณ์รุ่นพี่ปี 5 
รุ่นพี่คนที่ 1 : น้องชอบเดินเขย่งเท้า น้องไม่สามารถสื่อสารหรือบอกความต้องการของตนเองได้ ชอบทำอะไรซ้ำๆน้องสามารถทำกิจกรรมศิลปะได้แต่ครูต้องคอยดูแลและให้ความช่วยเหลืออย่างใกล้ชิด น้องสามารถบอกสีและอวัยวะได้ น้องสามารถช่วยเหลือตนเองในการทำกิจวัตรประจำวันได้ เช่น การใส่เสื้อผ้า เข้าห้องน้ำ  เป็นต้น และสามารถเข้าใจคำสั่งของคุณครูได้ 2 - 3 คำสั่ง เช่น ไปหยิบของให้คุณครูหน่อย เป็นต้น 
รุ่นพี่คนที่ 2 : น้องไม่สามารถบอกความต้องการได้ น้องสามารถพูดคำว่า หู ตา จมูก ได้และชอบให้ชี้ที่อวัยวะ เช่น หู ตา จมูก แล้วน้องจะพูดตาม น้องสามารถพูดชื่อสีได้แต่เมื่อพูดรูปปากจะเบี้ยวน้องชอบสีฟ้าเป็นพิเศษชอบเล่นกับอะไรก็ตามที่เป็นสีฟ้า น้องไม่สามารถควบคุมอารมณ์ได้ กิจวัตรต่างๆต้องเรียงไปตามกิจวัตรประจำวันที่เคยทำไม่สามารถเปลี่ยนได้ และครั้งหนึ่งน้องเคยร้องไห้โวยวายแต่เมื่อคุณครูพาไปทานน้ำน้องก็จะหยุดร้องไห้

การสัมภาษณ์คุณครู : น้องเริ่มมีการสบตามากกว่าเมื่อก่อน สามารถฟังคำสั่งได้ 2 - 3 คำสั่ง เช่น ไปหยิบของให้คุณครูหน่อย น้องสามารถนั่งเรียนร่วมกับเพื่อนได้แต่เนื้อหาที่เรียนอาจไม่เต็มร้อย น้องมีพัฒนาการเท่ากับเด็ก 3 ขวบ น้องสามารถทำกิจกรรมได้แต่คุณครูต้องคอยดูแลอย่างใกล้ชิด น้องสามารถช่วยเหลือตนเองได้ สามารถพูดคำว่า หน้า แก้ม ได้ ถ้าเกิดวันไหนน้องอารมณ์ไม่ดีก็จะหงุดหงิดไปทั้งวันแต่ถ้าวันไหนอารมณ์ดีน้องก็จะอารมณ์ดีไปทั้งวัน การเข้าสังคมของน้องยังไม่เกิด หากน้องมีความต้องการแล้วคุณครูไม่ทราบน้องจะหงุดหงิด

วิธีการที่ครูดูแลน้อง : คุณครูจะคอยพลัดเปลี่ยนกันมาดูแลน้องเป็นการส่วนตัวอาทิตย์ละ 1 คนอย่างใกล้ชิดตลอดเวลา

เวลาเล่นกับเพื่อนน้องเป็นอย่างไร : น้องไม่เข้าหาเพื่อน ไม่มีสังคม ไม่มีการสื่อสารกับบุคคลรอบข้าง


วันอังคารที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

การบันทึกครั้งที่ 4
วันพุธ ที่ 8  กุมภาพันธ์ พ.ศ.2560
เวลา 08.30 - 12.30 น.

เนื้อหาการเรีย
                             - เข้าสู่บทเรียนเรื่อง "ประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ"


6. เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้
• เรียกย่อ ๆ ว่า L.D. (Learning Disability)
• เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้เฉพาะอย่าง
• ไม่นับรวมเด็กที่มีปัญหาเพียงเล็กน้อยทางการเรียน 
สาเหตุของ LD
• ความผิดปกติของการทำงานของสมองที่ไม่สามารถถอดรหัสตัวอักษรออกมาได้ (เชื่อมโยงภาพ ตัวอักษรเข้ากับเสียงไม่ได้)
• กรรมพันธุ์
1. ด้านการอ่าน 
• หนังสือช้า ต้องสะกดทีละคำ
• อ่านออกเสียงไม่ชัด ออกเสียงผิด หรืออาจข้ามคำที่อ่านไม่ได้ไปเลย
• ไม่เข้าใจเนื้อหาที่อ่าน หรือจับใจความสำคัญไม่ได้
2. ด้านการเขียน 
• เขียนตัวหนังสือผิด สับสนเรื่องการม้วนหัวอักษร เช่น จาก ม เป็น น หรือจาก ภ เป็น ถ เป็นต้น
• เขียนตามการออกเสียง เช่น ประเภท เขียนเป็น ประเพด
• เขียนสลับ เช่น สถิติ เขียนเป็น สติถิ
3. ด้านการคิดคำนวณ
• ตัวเลขผิดลำดับ
• ไม่เข้าใจเรื่องการทดเลขหรือการยืมเลขเวลาทำการบวกหรือลบ
• ไม่เข้าหลักเลขหน่วย สิบ ร้อย
4. หลายๆ ด้านร่วมกัน

7. ออทิสติก (Autistic)
• หรือ ออทิซึ่ม (Autism)
• เด็กที่ไม่สามารถมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
• ไม่สามารถเข้าใจคำพูด ความรู้สึกและความต้องการของผู้อื่น 
" ไม่สบตา ไม่พาที ไม่ชี้นิ้ว " 

• ทักษะภาษา
• ทักษะทางสังคม
• ทักษะการเคลื่อนไหว
• ทักษะการรับรู้เกี่ยวกับรูปทรง ขนาดและพื้นที่ 

ลักษณะของเด็กออทิสติก
อยู่ในโลกของตนเอง
ไม่เข้าไปหาใครเพื่อให้ปลอบใจ
ไม่เข้าไปเล่นในกลุ่มเพื่อน
ไม่ยอมพูด
เคลื่อนไหวแบบซ้ำๆ

ประเมินตนเอง
                        - ตั้งใจฟังอาจารย์
                        - ให้ความร่วมมือกับกิจกรรมเป็นอย่างดี

ประเมินเพื่อน
                       - เพื่อนๆทุกคนให้ความร่วมมือกับกิจกรรมเป็นอย่างดี


ประเมินอาจารย์
                        - แต่งกายสุภาพเรียบร้อย
                        - มีน้ำเสียงที่น่าฟัง