วันเสาร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2560

การบันทึกครั้งที่ 3
วันพุธ ที่ 25  มกราคม พ.ศ.2560
เวลา 08.30 - 12.30 น.
เนื้อหาการเรีย
                         - เข้าสู่บทเรียนเรื่อง "ประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ"



4. เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา 
เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูด
          หมายถึง เด็กที่มีความบกพร่องซึ่งเกิดจากการพูดผิดปกติ ในด้านความชัดเจนในการปรับปรุงแต่งระดับและคุณภาพของเสียง จังหวะและขั้นตอนของเสียงพูด
1. ความบกพร่องในด้านการปรุงเสียง 
 เสียงบางส่วนของคำขาดหายไป "ความ" เป็น "คาม"
 ออกเสียงของตัวอื่นแทนตัวที่ถูกต้อง "กิน" "จิน"  กวาด ฟาด
2. ความบกพร่องของจังหวะและขั้นตอนของเสียงพูด
• พูดไม่ถูกตามลำดับขั้นตอน ไม่เป็นไปตามโครงสร้างของภาษา
• การเว้นวรรคตอนไม่ถูกต้อง                                                                     
3.ความบกพร่องของเสียงพูด
• ความบกพร่องของระดับเสียง
• เสียงดังหรือค่อยเกินไป

ความบกพร่องทางภาษา
         หมายถึง การขาดความสามารถที่จะเข้าใจความหมายของคำพูด และ/หรือไม่สามารถแสดงความคิดออกมาเป็นถ้อยคำได้
1. การพัฒนาการทางภาษาช้ากว่าวัย 
• มีความยากลำบากในการใช้ภาษา
• มีความผิดปกติของไวยากรณ์และโครงสร้างของประโยค
2. ความผิดปกติทางการพูดและภาษาอันเนื่องมาจากพยาธิสภาพที่สมอง โดยทั่วไปเรียกว่าDysphasia หรือ aphasia 
• อ่านไม่ออก (alexia)
• เขียนไม่ได้ (agraphia)
ลักษณะของเด็กบกพร่องทางการพูดและภาษา 
• ในวัยทารกมักเงียบผิดธรรมชาติ ร้องไห้เบา ๆ และอ่อนแรง
• ไม่อ้อแอ้ภายในอายุ 10 เดือน
• ไม่พูดภายในอายุ 2 ขวบ 

5. เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ 
• เด็กที่มีอวัยวะไม่สมส่วน
• อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งหายไป 
โรคลมชัก 
1.การชักในช่วงเวลาสั้น ๆ
• อาการเหม่อนิ่งเป็นเวลา 5-10วินาที
• มีการกระพริบตาหรืออาจมีเคี้ยวปาก 
2.การชักแบบรุนแรง 
• เมื่อเกิดอาการชัก เด็กจะส่งเสียง หมดความรู้สึก ล้มลง กล้ามเนื้อเกร็ง เกิดขึ้นราว 2-5 นาที จากนั้นจะหาย และนอนหลับไปชั่วครู
3.อาการชักแบบ Partial Complex
• มีอาการประมาณไม่เกิน 3 นาที
• เหม่อนิ่ง 
4.อาการไม่รู้สึกตัว
เป็นอาการที่เกิดขึ้นในระยะสั้น เด็กไม่รู้สึกตัว อาจทำอะไรบางอย่างโดยที่ตัวเองไม่รู้ เช่น ร้องเพลง ดึงเสื้อผ้า เดินเหม่อลอย แต่ไม่มีอาการชัก
5.ลมบ้าหมู 
• เมื่อเกิดอาการชักจะทำให้หมดสติ และหมดความรู้สึกในขณะชักกล้ามเนื้อเกร็งหรือแขนขากระตุก กัดฟัน กัดลิ้น 

ซี.พี.
• การเป็นอัมพาตเนื่องจากระบบประสาทสมองพิการ หรือเป็นผลมาจากสมองที่กำลังพัฒนาถูกทำลายก่อนคลอด ระหว่างคลอด หรือหลังคลอด
• การเคลื่อนไหว การพูด พัฒนาการล่าช้า เด็กซีพี มีความบกพร่องที่เกิดจากส่วนต่าง ๆ ของสมองแตกต่างกัน 
ลักษณะของเด็กบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ
• ท่าเดินคล้ายกรรไกร
• เดินขากะเผลก หรืออึดอาดเชื่องช้า
• ไอเสียงแห้งบ่อย ๆ
• มักบ่นเจ็บหน้าอก บ่นปวดหลัง 

ประเมินตนเอง
                        - ตั้งใจฟังอาจารย์
                        - ให้ความร่วมมือกับกิจกรรมเป็นอย่างดี

ประเมินเพื่อน
                       - เพื่อนๆทุกคนให้ความร่วมมือกับกิจกรรมเป็นอย่างดี


ประเมินอาจารย์
                        - แต่งกายสุภาพเรียบร้อย
                        - มีน้ำเสียงที่น่าฟัง

วันเสาร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2560

การบันทึกครั้งที่ 2
วันพุธ ที่ 18  มกราคม พ.ศ.2560
เวลา 08.30 - 12.30 น.
เนื้อหาการเรีย
                          - เข้าสู่บทเรียนเรื่อง "ประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ"


แบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ
1. กลุ่มเด็กที่มีลักษณะทางความสามารถสูง 
มีความเป็นเลิศทางสติปัญญา เรียกโดยทั่วๆไปว่า “เด็กปัญญาเลิศ”
เด็กปัญญาเลิศ 
• เด็กที่มีความสามารถทางสติปัญญา
• มีความถนัดเฉพาะทางสูงกว่าเด็กในวัยเดียวกัน
ลักษณะของเด็กปัญญาเลิศ
• พัฒนาการทางร่างกายและจิตใจสูงกว่าเด็กในวัยเดียวกัน
• เรียนรู้สิ่งต่างๆ ได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย
• อยากรู้อยากเห็นอย่างจริงจัง ชอบซักถาม 
เด็กฉลาด 
• ตอบคำถาม
• สนใจเรื่องที่ครูสอน
• ชอบอยู่กับเด็กอายุเท่ากัน 
Gifted 
• ตั้งคำถาม 
• เรียนรู้สิ่งที่สนใจ
• ชอบอยู่กับผู้ใหญ่หรือเด็กที่โตกว่า



2.  กลุ่มเด็กที่มีลักษณะทางความบกพร่อง
1. เด็กที่บกพร่องทางสติปัญญา   
           หมายถึง เด็กที่มีระดับสติปัญญาหรือเชาว์ปัญญาต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ยเมื่อเทียบเด็กในระดับอายุเดียวกันมี 2 กลุ่ม คือ เด็กเรียนช้า และเด็กปัญญาอ่อน
ลักษณะของเด็กที่บกพร่องทางสติปัญญา 
• ไม่พูด หรือพูดได้ไม่สมวัย
• ช่วงความสนใจสั้น วอกแวก
• ความคิด และอารมณ์ เปลี่ยนแปลงง่าย รอคอยไม่ได้

2. เด็กที่บกพร่องทางการได้ยิน  
           หมายถึง เด็กที่มีความบกพร่อง หรือสูญเสียการได้ยินเป็นเหตุให้การรับฟังเสียงต่างๆได้ไม่ชัดเจนมี 2 ประเภท คือ เด็กหูตึง และ เด็กหูหนวก
ลักษณะของเด็กที่บกพร่องทางการได้ยิน
• ไม่ตอบสนองเสียงพูด เสียงดนตรี มักตะแคงหูฟัง
• ไม่พูด มักแสดงท่าทาง
• พูดไม่ถูกหลักไวยากรณ์ 

3. เด็กที่บกพร่องทางการเห็น
  - เด็กที่มองไม่เห็นหรือพอเห็นแสง เห็นเลือนราง
  - มีความบกพร่องทางสายตาทั้งสองข้าง
  - สามารถเห็นได้ไม่ถึง 1/10 ของคนสายตาปกติ
  - มีลานสายตากว้างไม่เกิน 30 องศา
จำแนกได้เป็น 2 ประเภท คือ เด็กตาบอด และ เด็กตาบอดไม่สนิท 
ลักษณะของเด็กบกพร่องทางการเห็น
• เดินงุ่มง่าม ชนและสะดุดวัตถุ
• มองเห็นสีผิดไปจากปกติ
• มักบ่นว่าปวดศีรษะ คลื่นไส้ ตาลาย คันตา

4. เด็กที่บกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ
5. เด็กที่บกพร่องทางการพูดและภาษา
6. เด็กที่บกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
7. เด็กที่บกพร่องทางการเรียนรู้
8. เด็กออทิสติก
9. เด็กพิการซ้อน 
                            - ท้ายคาบเรียนนักศึกษาทุกคนร่วมกันไหว้อาจารย์เนื่องในโอกาสวันครู


ประเมินตนเอง
                        - ตั้งใจฟังอาจารย์
                        - ให้ความร่วมมือกับกิจกรรมเป็นอย่างดี

ประเมินเพื่อน
                       - เพื่อนๆทุกคนให้ความร่วมมือกับกิจกรรมเป็นอย่างดี


ประเมินอาจารย์
                        - แต่งกายสุภาพเรียบร้อย
                        - มีน้ำเสียงที่น่าฟัง

วันเสาร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2560

การบันทึกครั้งที่ 1
วันพุธ ที่ 11  มกราคม พ.ศ.2560
เวลา 08.30 - 12.30 น.
เนื้อหาการเรียน
                          - อาจารย์ปฐมนิเทศการเรียนในรายวิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย 
                          - เข้าสู่บทเรียนเรื่อง "เด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ"


ความหมายของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
ทางการแพทย์ 
                     มักจะเรียกเด็กที่มีความต้องการพิเศษว่า “เด็กพิการ”  หมายถึง เด็กที่มีความผิดปกติ มีความบกพร่อง สูญเสีย สมรรถภาพ อาจเป็นความผิดปกติ ความบกพร่องทางกาย การสูญเสียสมรรถภาพทางสติปัญญา ทางจิตใจ

ทางการศึกษา 
                    ให้ความหมายเด็กที่มีความต้องการพิเศษว่าหมายถึง เด็กที่มีความต้องการทางการศึกษาเฉพาะของตัวเอง ซึ่งจเป็นต้องจัดการศึกษาให้ต่างไปจากเด็กปกติทางด้านเนื้อหา หลักสูตร กระบวนการที่ใช้ และการประเมินผล
สรุปได้ว่าเด็กที่มีความต้องการพิเศษหมายถึง 
เด็กที่ไม่อาจพัฒนาความสามารถได้เท่าที่ควรจากการให้การช่วยเหลือ และการสอนตามปกติ
มีสาเหตุจากสภาพความ บกพร่องทางร่างกาย สติปัญญา และอารมณ์
สาเหตุที่ทำให้เกิดความบกพร่องทางพัฒนาการ
1. พันธุกรรม เด็กจะมีพัฒนาการล่าช้ามาตั้งแต่เกิดหรือสังเกตได้ชั่วระยะไม่นานหลังเกิด  มักมีลักษณะผิดปกติแต่กำเนิดร่วมด้วย
2. โรคของระบบประสาท เด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการส่วนใหญ่มักมีอาการหรืออาการแสดงทางระบบประสาทร่วมด้วย ที่พบบ่อยคืออาการชัก 
3. การติดเชื้อ การติดเชื้อตั้งแต่อยู่ในครรภ์ น้ำหนักตัวแรกเกิดน้อย ศีรษะเล็กกว่าปกติ อาจมีตับม้ามโต การได้ยินบกพร่อง ต้อกระจก นอกจากนี้การติดเชื้อรุนแรงภายหลังเกิด เช่น สมองอักเสบ เยื้อหุ้มสมองอักเสบ เป็นสาเหตุที่พบได้บ้าง
4. ความผิดปกติเกี่ยวกับเมตาบอลิซึม โรคที่ยังเป็นปัญหาสาธารณสุขไทย คือ ไทรอยด์ฮอร์โมนในเลือดต่ำ
5. ภาวะแทรกซ้อนระยะแรกเกิด การเกิดก่อนกำหนด น้ำหนักตัวแรกเกิดน้อย และภาวะขาดออกซิเจน
6. สารเคมี ตะกั่วเป็นสารที่มีผลกระทบต่อเด็กและมีการศึกษามากที่สุด
7. การเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสมรวมทั้งการขาดสารอาหาร 
8. สาเหตุอื่นๆ
แนวทางการวินิจฉัยเด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ
1. การซักประวัติ
2. การตรวจร่างกาย
3. การสืบค้นทางห้องปฏิบัติการ
4.การประเมินพัฒนาการ
                        - อาจารย์ให้นักศึกษาทุกคนทำกิจกรรม Gesell Drawing Test โดยการให้นักศึกษาวาดภาพตามภาพตัวอย่าง ดังนี้


ประเมินตนเอง
                        - ตั้งใจฟังอาจารย์
                        - ให้ความร่วมมือกับกิจกรรมเป็นอย่างดี

ประเมินเพื่อน
                       - เพื่อนๆทุกคนให้ความร่วมมือกับกิจกรรมเป็นอย่างดี


ประเมินอาจารย์
                        - แต่งกายสุภาพเรียบร้อย
                        - มีน้ำเสียงที่น่าฟัง