การบันทึกครั้งที่ 1
วันพุธ ที่ 11 มกราคม พ.ศ.2560
เวลา 08.30 - 12.30 น.
เนื้อหาการเรียน
- อาจารย์ปฐมนิเทศการเรียนในรายวิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
- เข้าสู่บทเรียนเรื่อง "เด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ"
ความหมายของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
ทางการแพทย์
มักจะเรียกเด็กที่มีความต้องการพิเศษว่า
“เด็กพิการ” หมายถึง เด็กที่มีความผิดปกติ มีความบกพร่อง
สูญเสีย สมรรถภาพ อาจเป็นความผิดปกติ ความบกพร่องทางกาย
การสูญเสียสมรรถภาพทางสติปัญญา ทางจิตใจ
ทางการศึกษา
ให้ความหมายเด็กที่มีความต้องการพิเศษว่าหมายถึง เด็กที่มีความต้องการทางการศึกษาเฉพาะของตัวเอง
ซึ่งจำเป็นต้องจัดการศึกษาให้ต่างไปจากเด็กปกติทางด้านเนื้อหา
หลักสูตร กระบวนการที่ใช้ และการประเมินผล
สรุปได้ว่าเด็กที่มีความต้องการพิเศษหมายถึง
•เด็กที่ไม่อาจพัฒนาความสามารถได้เท่าที่ควรจากการให้การช่วยเหลือ
และการสอนตามปกติ
•มีสาเหตุจากสภาพความ
บกพร่องทางร่างกาย สติปัญญา และอารมณ์
สาเหตุที่ทำให้เกิดความบกพร่องทางพัฒนาการ
1. พันธุกรรม เด็กจะมีพัฒนาการล่าช้ามาตั้งแต่เกิดหรือสังเกตได้ชั่วระยะไม่นานหลังเกิด
มักมีลักษณะผิดปกติแต่กำเนิดร่วมด้วย
2.
โรคของระบบประสาท เด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการส่วนใหญ่มักมีอาการหรืออาการแสดงทางระบบประสาทร่วมด้วย ที่พบบ่อยคืออาการชัก
3.
การติดเชื้อ การติดเชื้อตั้งแต่อยู่ในครรภ์
น้ำหนักตัวแรกเกิดน้อย ศีรษะเล็กกว่าปกติ อาจมีตับม้ามโต การได้ยินบกพร่อง
ต้อกระจก นอกจากนี้การติดเชื้อรุนแรงภายหลังเกิด
เช่น สมองอักเสบ เยื้อหุ้มสมองอักเสบ เป็นสาเหตุที่พบได้บ้าง
4.
ความผิดปกติเกี่ยวกับเมตาบอลิซึม โรคที่ยังเป็นปัญหาสาธารณสุขไทย
คือ ไทรอยด์ฮอร์โมนในเลือดต่ำ
5.
ภาวะแทรกซ้อนระยะแรกเกิด การเกิดก่อนกำหนด
น้ำหนักตัวแรกเกิดน้อย และภาวะขาดออกซิเจน
6.
สารเคมี ตะกั่วเป็นสารที่มีผลกระทบต่อเด็กและมีการศึกษามากที่สุด
7.
การเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสมรวมทั้งการขาดสารอาหาร
8. สาเหตุอื่นๆ
แนวทางการวินิจฉัยเด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ
1.
การซักประวัติ
2.
การตรวจร่างกาย
3.
การสืบค้นทางห้องปฏิบัติการ
4.การประเมินพัฒนาการ
- อาจารย์ให้นักศึกษาทุกคนทำกิจกรรม Gesell
Drawing Test โดยการให้นักศึกษาวาดภาพตามภาพตัวอย่าง ดังนี้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น