การบันทึกครั้งที่ 10
วันพุธ ที่ 29 มีนาคม พ.ศ.2560
เวลา 08.30 - 12.30 น.
เนื้อหาการเรียน
- "กิจกรรมมือของฉัน" อาจารย์ให้นักศึกษาวางมือข้างที่ไม่ถนัดไว้บนโต๊ะและใช้มือข้างที่ถนัดวาดลายมือข้างที่ไม่ถนัด จากนั้นอาจารย์สลับลยมือของแต่ละคนแล้วแจกให้นักศึกษาตามหาเจ้าของลายมือนั้น
จากกิจกรรมมือของฉัน ให้ข้อคิดในเรื่องของการเขียนสมุดพก คือ สิ่งที่อยู่รอบตัวเราเสมอ เราอาจจะคิดว่าเราจดจำได้แต่เมื่อถึงเวลาที่ต้องเขียนสมุดพกเราอาจจะลืม เพราะฉนั้นควรมีการจดบันทึกไว้เป็นระยะๆเพื่อที่เราจะบันทึกได้อย่างครบถ้วน
- "กิจกรรมวงกลมหลากสี" อาจารย์ให้นักศึกษาเลือกสีเทียนสีต่างๆตามใจชอบและวาดเป็นรูปวงกลมลงบนกระดาษจากนั้นให้ตัดเป็นรูปวงกลมตามรูปที่วาดแล้วในนักศึกษานำไปติดเป็นต้นไม้
จากกิจกรรมวงกลมหลากสี แปลความหมายจากสีได้ว่า สีที่เราระบายด้านในสุดคือความรู้สึกลึกๆของเรา สีขอบด้านนอกสุดคือสิ่งที่เราแสดงออกให้คนอื่นๆรู้และถ้าขนาดของเส้นวงกลมที่ระบายมีขนาดที่เท่าๆกันแสดงว่าเป็นบุคคลที่มีความมั่นคง
- เข้าสู่บทเรียนเรื่อง "โปรแกรมการศึกษาเฉพาะบุคคล"
แผน
IEP
• แผนการศึกษาที่ร่างขึ้น
• เพื่อให้เด็กพิเศษแต่ละคนได้รับการสอน
และการช่วยเหลือฟื้นฟูให้เหมาะสมกับความต้องการและความสามารถของเขา
• ด้วยการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก
• โดยระบุเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดการใช้แผนและวิธีการวัดประเมินผลเด็ก
การเขียนแผน
IEP
• คัดแยกเด็กพิเศษ
• ครูต้องรู้ว่าเด็กมีปัญหาอะไร
• ประเมินพัฒนาการเด็กเป็นระยะ
จะทำให้ทราบว่าจะต้องเริ่มช่วยเหลือเด็กจากจุดไหน ในทักษะใด
• เด็กสามารถทำอะไรได้ / เด็กไม่สามารถทำอะไรได้
• แล้วจึงเริ่มเขียนแผน
IEP
IEP ประกอบด้วย
• ข้อมูลส่วนตัวของเด็ก
• ระบุว่าเด็กมีความจำเป็นต้องได้รับบริการพิเศษอะไรบ้าง
• การระบุความสามารถของเด็กในขณะปัจจุบัน
• เป้าหมายระยะยาวประจำปี / ระยะสั้น
• ระบุวัน เดือน ปี ที่เริ่มทำการสอน
และคาดคะเนการสิ้นสุดของแผน
• วิธีการประเมินผล
ประโยชน์ต่อเด็ก
• ได้เรียนรู้ตามความสามารถของตน
• ได้มีโอกาสพัฒนาตามศักยภาพของตน
• ได้รับการศึกษาและฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม
ประโยชน์ต่อครู
• เป็นแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่ตรงกับความสามารถและความต้องการของเด็ก
• เป็นแนวทางในการเลือกสื่อการสอนและวิธีการสอนให้เหมาะกับเด็ก
ประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
• ได้มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนการเรียนรายบุคคล
เพื่อให้เด็กได้พัฒนาความสามารถได้สูงสุดตามศักยภาพ
• ทราบร่วมกับครูว่าจะฝึกลูกของตนอย่างไร
ขั้นตอนการจัดทำแผนการศึกษารายบุคคล
1. การรวบรวมข้อมูล
2. การจัดทำแผน
3. การใช้แผน
4. การประเมินผล
ประเมินตนเอง
- ตั้งใจฟังอาจารย์
- ให้ความร่วมมือกับกิจกรรมเป็นอย่างดี
ประเมินเพื่อน
- เพื่อนๆทุกคนให้ความร่วมมือกับกิจกรรมเป็นอย่างดี
ประเมินอาจารย์
- แต่งกายสุภาพเรียบร้อย