วันอังคารที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

การบันทึกครั้งที่ 11
วันพุธ ที่ 19  เมษายน พ.ศ.2560
เวลา 08.30 - 12.30 น.
เนื้อหาการเรีย
                           - การเรียนการสอนในวันนี้เป็นการเรียนเรื่อง "แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (Individualized Education Program : IEP)" โดยอาจารย์ได้แจกตัวอย่างแผนและให้ความรู้นักศึกษาเกี่ยวกับรายละเอียดในการเขียนแผน ซึ่งมีหัวข้อ ดังนี้
1. ข้อมูลทั่วไป
2. ข้อมูลด้านการแพทย์หรือด้านสุขภาพ
3. ข้อมูลด้านการศึกษา
4. ข้อมูลอื่นๆที่จำเป็น
5. การวางแผนการจัดการศึกษา
6. ความต้องการสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการ และความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา
7. คณะกรรมการจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล
8. ความเห็นของบิดา มารดา หรือผู้ปกครอง


                         - ต่อมาอาจารย์ได้ให้นักศึกษาทุกคนทดลองเขียนแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคลโดยมีอาจารย์คอยให้คำแนะนำ


                        - ท้ายคาบเรียนอาจารย์ได้นำตัวอย่างของแผนผังชนิดต่างๆมาให้นักศึกษาได้ดูเพื่อให้นักศึกษาได้นำไปประยุกต์ใช้



ประเมินตนเอง
                        - ตั้งใจฟังอาจารย์
                        - ให้ความร่วมมือกับกิจกรรมเป็นอย่างดี

ประเมินเพื่อน
                       - เพื่อนๆทุกคนให้ความร่วมมือกับกิจกรรมเป็นอย่างดี


ประเมินอาจารย์
                        - แต่งกายสุภาพเรียบร้อย
                        - มีน้ำเสียงที่น่าฟัง



วันศุกร์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2560

การบันทึกครั้งที่ 10
วันพุธ ที่ 29  มีนาคม พ.ศ.2560
เวลา 08.30 - 12.30 น.

เนื้อหาการเรีย
                          - "กิจกรรมมือของฉัน" อาจารย์ให้นักศึกษาวางมือข้างที่ไม่ถนัดไว้บนโต๊ะและใช้มือข้างที่ถนัดวาดลายมือข้างที่ไม่ถนัด จากนั้นอาจารย์สลับลยมือของแต่ละคนแล้วแจกให้นักศึกษาตามหาเจ้าของลายมือนั้น
                          จากกิจกรรมมือของฉัน ให้ข้อคิดในเรื่องของการเขียนสมุดพก คือ สิ่งที่อยู่รอบตัวเราเสมอ เราอาจจะคิดว่าเราจดจำได้แต่เมื่อถึงเวลาที่ต้องเขียนสมุดพกเราอาจจะลืม เพราะฉนั้นควรมีการจดบันทึกไว้เป็นระยะๆเพื่อที่เราจะบันทึกได้อย่างครบถ้วน




                          - "กิจกรรมวงกลมหลากสี" อาจารย์ให้นักศึกษาเลือกสีเทียนสีต่างๆตามใจชอบและวาดเป็นรูปวงกลมลงบนกระดาษจากนั้นให้ตัดเป็นรูปวงกลมตามรูปที่วาดแล้วในนักศึกษานำไปติดเป็นต้นไม้
                          จากกิจกรรมวงกลมหลากสี แปลความหมายจากสีได้ว่า สีที่เราระบายด้านในสุดคือความรู้สึกลึกๆของเรา สีขอบด้านนอกสุดคือสิ่งที่เราแสดงออกให้คนอื่นๆรู้และถ้าขนาดของเส้นวงกลมที่ระบายมีขนาดที่เท่าๆกันแสดงว่าเป็นบุคคลที่มีความมั่นคง




                         - เข้าสู่บทเรียนเรื่อง "โปรแกรมการศึกษาเฉพาะบุคคล"
แผน IEP
แผนการศึกษาที่ร่างขึ้น
เพื่อให้เด็กพิเศษแต่ละคนได้รับการสอน และการช่วยเหลือฟื้นฟูให้เหมาะสมกับความต้องการและความสามารถของเขา
• ด้วยการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก
โดยระบุเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดการใช้แผนและวิธีการวัดประเมินผลเด็ก
การเขียนแผน IEP
คัดแยกเด็กพิเศษ
ครูต้องรู้ว่าเด็กมีปัญหาอะไร
ประเมินพัฒนาการเด็กเป็นระยะ จะทำให้ทราบว่าจะต้องเริ่มช่วยเหลือเด็กจากจุดไหน ในทักษะใด
เด็กสามารถทำอะไรได้  / เด็กไม่สามารถทำอะไรได้
แล้วจึงเริ่มเขียนแผน IEP
IEP ประกอบด้วย
ข้อมูลส่วนตัวของเด็ก
ระบุว่าเด็กมีความจำเป็นต้องได้รับบริการพิเศษอะไรบ้าง
การระบุความสามารถของเด็กในขณะปัจจุบัน
เป้าหมายระยะยาวประจำปี / ระยะสั้น
ระบุวัน เดือน ปี ที่เริ่มทำการสอน และคาดคะเนการสิ้นสุดของแผน
วิธีการประเมินผล
ประโยชน์ต่อเด็ก
ได้เรียนรู้ตามความสามารถของตน
ได้มีโอกาสพัฒนาตามศักยภาพของตน
ได้รับการศึกษาและฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม
ประโยชน์ต่อครู
เป็นแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่ตรงกับความสามารถและความต้องการของเด็ก
เป็นแนวทางในการเลือกสื่อการสอนและวิธีการสอนให้เหมาะกับเด็ก
ประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
ได้มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนการเรียนรายบุคคล เพื่อให้เด็กได้พัฒนาความสามารถได้สูงสุดตามศักยภาพ
ทราบร่วมกับครูว่าจะฝึกลูกของตนอย่างไร
ขั้นตอนการจัดทำแผนการศึกษารายบุคคล
1. การรวบรวมข้อมูล
2. การจัดทำแผน
3. การใช้แผน
4. การประเมินผล

ประเมินตนเอง
                        - ตั้งใจฟังอาจารย์
                        - ให้ความร่วมมือกับกิจกรรมเป็นอย่างดี

ประเมินเพื่อน
                       - เพื่อนๆทุกคนให้ความร่วมมือกับกิจกรรมเป็นอย่างดี


ประเมินอาจารย์
                        - แต่งกายสุภาพเรียบร้อย
                        - มีน้ำเสียงที่น่าฟัง


วันศุกร์ที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2560

การบันทึกครั้งที่ 9
วันพุธ ที่ 22  มีนาคม พ.ศ.2560
เวลา 08.30 - 12.30 น.

เนื้อหาการเรีย
                          -  เข้าสู่บทเรียนเรื่อง การส่งเสริมพัฒนาการและการปรับพฤติกรรมเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ "


• เพื่อให้เด็กสามารถช่วยเหลือตนเองได้ในชีวิตประจำวัน
• ใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้ใกล้เคียงกับคนปกติมากที่สุด 
• เน้นการดูแลแบบองค์รวม (Holistic Approach)
1. การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษา
เพิ่มทักษะพื้นฐานด้านสังคม การสื่อสาร และทักษะทางความคิด
เกิดผลดีในระยะยาว
2.การฟื้นฟูสมรรถภาพทางสังคม
• การฝึกฝนทักษะในชีวิตประจำวัน
• การฝึกฝนทักษะสังคม 
3. การบำบัดทางเลือก
• การสื่อความหมายทดแทน 
• ศิลปกรรมบำบัด 

การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ
1. ทักษะทางสังคม
• เด็กพิเศษที่ขาดทักษะทางสังคม ไม่ได้มีสาเหตุมาจากการพ่อแม่
• การอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีไม่ได้เป็นเครื่องรับประกันว่าเด็กจะมีพัฒนาการต่างๆอย่างมีความสุข
2. ทักษะภาษา
• การวัดความสามารถทางภาษา 
• การออกเสียงผิด / พูดไม่ชัด
3. ทักษะการช่วยเหลือตนเอง
   เรียนรู้การดำรงชีวิตโดยอิสระให้มากที่สุด การกินอยู่ การเข้าห้องน้ำ การแต่งตัว กิจวัตรต่างๆในชีวิตประจำวัน
4. ทักษะพื้นฐานทางการเรียน
    เป้าหมาย ช่วงความสนใจ การเลียนแบบ การทำตามคำสั่ง คำแนะนำ การรับรู้ การเคลื่อนไหวการควบคุมกล้ามเนื้อเล็ก
                         - ระหว่างการเรียนการสอนอาจารย์ให้นักศึกษาจำลองเหตุการณ์เป็นเด็กที่มีความต้องการพิเศษต่างๆ เช่น ออทิสติก เพื่อแสดงถึงเหตุการณ์ที่จะได้พบเจอจริงๆระหว่างเพื่อนๆกับเด็กที่มีความต้องการพิเศษในชั้นเรียน



ประเมินตนเอง
                        - ตั้งใจฟังอาจารย์
                        - ให้ความร่วมมือกับกิจกรรมเป็นอย่างดี

ประเมินเพื่อน
                       - เพื่อนๆทุกคนให้ความร่วมมือกับกิจกรรมเป็นอย่างดี


ประเมินอาจารย์
                        - แต่งกายสุภาพเรียบร้อย
                        - มีน้ำเสียงที่น่าฟัง

วันเสาร์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2560

การบันทึกครั้งที่ 8
วันพุธ ที่ 15  มีนาคม พ.ศ.2560
เวลา 08.30 - 12.30 น.
เนื้อหาการเรีย
                          - อาจารย์เฉลยข้อสอบกลางภาคพร้อมสนทนาพูดคุยกับนักศึกษาถึงโจทย์และคำตอบของแต่ละข้อทั้งหมด 60 ข้อ
                         - อาจารย์ให้นักศึกษาชมวีดีโอของเด็กที่มีความต้องการพิเศษจากรายการ Super Ten น้องช่อแก้ว



                        - เข้าสู่บทเรียนเรื่อง การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย


รูปแบบการจัดการศึกษา
• การศึกษาปกติทั่วไป (Regular Education)
• การศึกษาพิเศษ (Special Education)
• การศึกษาแบบเรียนร่วม  (Integrated Education หรือ Mainstreaming)
• การศึกษาแบบเรียนรวม  (Inclusive Education)
การจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
• เด็กที่มีความต้องการพิเศษทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ถ้าได้รับโอกาสในการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับความต้องการพิเศษของเขา
ความหมายของการศึกษาแบบเรียนร่วม
• การจัดให้เด็กพิเศษเข้าไปในระบบการศึกษาทั่วไป
• มีกิจกรรมที่ให้เด็กพิเศษกับเด็กทั่วไปได้ทำร่วมกัน
• ใช้ช่วงเวลาช่วงใดช่วงหนึ่งในแต่ละวัน
การเรียนร่วมบางเวลา (Integration)
• การจัดให้เด็กพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติในบางเวลา
• เด็กพิเศษได้มีโอกาสแสดงออก และมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กปกติ
การเรียนร่วมเต็มเวลา (Mainstreaming)
• การจัดให้เด็กพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติตลอดเวลาที่เด็กอยู่ในโรงเรียน
• เด็กพิเศษได้รับการจัดกระบวนการเรียนรู้และบริการนอกห้องเรียนเหมือนเด็กปกติ
ความหมายของการศึกษาแบบเรียนรวม
• การศึกษาสำหรับทุกคน
• รับเด็กเข้ามาเรียนรวมกันตั้งแต่เริ่มเข้ารับการศึกษา
• จัดให้มีบริการพิเศษตามความต้องการของแต่ละบุคคล
Wilson , 2007
• การจัดการเรียนการสอนที่ยึดปรัชญาของการอยู่รวมกัน (Inclusion) เป็นหลัก
• การสอนที่ดี เป็นการสอนที่ครูกับนักเรียนช่วยกันให้ทุกคนเป็นสมาชิกที่ดีของชุมชน
สรุปความหมายของการศึกษาแบบเรียนรวม
• เป็นการจัดการศึกษาที่จัดให้เด็กพิเศษเข้ามาเรียนรวมกับเด็กปกติ โดยรับเข้ามาเรียนรวมกัน ตั้งแต่เริ่มเข้ารับการศึกษาและจัดให้มีบริการพิเศษตามความต้องการของแต่ละบุคคล
บทบาทครูปฐมวัยในห้องเรียนรวม
ครูไม่ควรวินิจฉัย
• การวินิจฉัย หมายถึงการตัดสินใจโดยดูจากอาการหรือสัญญาณบางอย่าง
ครูไม่ควรตั้งชื่อหรือระบุประเภทเด็ก
ชื่อเปรียบเสมือนตราประทับตัวเด็กตลอดไป
                      - อาจารย์ให้นักศึกษาทำกิจกรรมวาดภาพดอกบัวพร้อมบรรยาย โดยอาจารย์ได้เปรียบเทียบดอกบัวเสมือนเด็กพิเศษคนหนึ่ง คือการให้ครูมองแต่สิ่งที่เห็นจริงๆไม่ควรใส่ความรู้สึกลงไป


ประเมินตนเอง
                        - ตั้งใจฟังอาจารย์
                        - ให้ความร่วมมือกับกิจกรรมเป็นอย่างดี

ประเมินเพื่อน
                       - เพื่อนๆทุกคนให้ความร่วมมือกับกิจกรรมเป็นอย่างดี


ประเมินอาจารย์
                        - แต่งกายสุภาพเรียบร้อย
                        - มีน้ำเสียงที่น่าฟัง

วันพฤหัสบดีที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2560

การบันทึกครั้งที่ 7
วันพุธ ที่ 8  มีนาคม พ.ศ.2560
เวลา 08.30 - 12.30 น.

สอบกลางภาคเรียน



วันศุกร์ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2560

การบันทึกครั้งที่ 6
วันพุธ ที่ 1  มีนาคม พ.ศ.2560
เวลา 08.30 - 12.30 น.
เนื้อหาการเรีย
                             - ก่อนเริ่มการเรียนการสอนในวันนี้ อาจารย์แจกปากกาเคมีให้นักศึกษาคนละ 1 กล่อง


                             - เข้าสู่บทเรียนเรื่อง "8.เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์"


• มีความรู้สึกนึกคิดที่ผิดไปจากปกติ                                             
• แสดงออกถึงความต้องการทำร้ายตนเองหรือผู้อื่น
มีความเชื่อมั่นในตนเองต่ำ
ลักษณะของเด็กบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
• ความวิตกกังวล (Anxiety) ซึ่งทำให้เด็กมีนิสัยขี้กลัว
• ภาวะซึมเศร้า (Depression) มีความเศร้าในระดับที่สูงเกินไป
• ปัญหาทางสุขภาพ และขาดแรงกระตุ้นหรือความหวังในชีวิต 
การจำแนกเด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ ตามกลุ่มอาการ
ด้านความประพฤติ 
• ทำร้ายผู้อื่น ทำลายสิ่งของ ลักทรัพย์
• ฉุนเฉียวง่าย หุนหันพลันแล่น และเกรี้ยวกราด
• กลับกลอก เชื่อถือไม่ได้ ชอบโกหก ชอบโทษผู้อื่น
ด้านความตั้งใจและสมาธิ
• จดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งในระยะสั้น (Short attention span) อาจไม่เกิน 20 วินาที
• ถูกสิ่งต่างๆ รอบตัวดึงความสนใจได้ตลอดเวลา
• งัวเงีย ไม่แสดงความสนใจใดๆ รวมถึงมีท่าทางเหมือนไม่ฟังสิ่งที่ผู้อื่นพูด
สมาธิสั้น 
• มีลักษณะกระวนกระวาย ไม่สามารถนั่งนิ่งๆ ได้ หยุกหยิกไปมา
• พูดคุยตลอดเวลา มักรบกวนหรือเรียกร้องความสนใจจากผู้อื่น
• มีทักษะการจัดการในระดับต่ำ
การถอนตัวหรือล้มเลิก
• หลีกเลี่ยงการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น และมักรู้สึกว่าตนเองด้อยกว่าผู้อื่น
• เฉื่อยชา และมีลักษณะคล้ายเหนื่อยตลอดเวลา
• ขาดความมั่นใจ ขี้อาย ขี้กลัว ไม่ค่อยแสดงความรู้สึก
ความผิดปกติในการทำงานของร่างกาย
• ความผิดปกติเกี่ยวกับพฤติกรรมการกิน (Eating Disorder)
• การอาเจียนโดยสมัครใจ (Voluntary Regurgitation)
• การปฏิเสธที่จะรับประทาน 
เด็กสมาธิสั้น (Children with Attention Deficit Hyperactivity Disorders)
Inattentiveness (สมาธิสั้น)
• ทำอะไรได้ไม่นาน วอกแวก ไม่มีสมาธิ
• ไม่สามารถจดจ่อกับงานที่กำลังทำได้นานเพียงพอ
• มักใจลอยหรือเหม่อลอยง่าย 
Hyperactivity (ซนอยู่ไม่นิ่ง)
• ซุกซนไม่ยอมอยู่นิ่ง ซนมาก
• เคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา
• เหลียวซ้ายแลขวา 
Impulsiveness (หุนหันพลันแล่น)
• ยับยั้งตัวเองไม่ค่อยได้ มักทำอะไรโดยไม่ยั้งคิด วู่วาม
• ขาดความยับยั้งชั่งใจ
• ไม่อดทนต่อการรอคอย หรือกฎระเบียบ 

9. เด็กพิการซ้อน 
• เด็กที่มีความบกพร่องที่มากกว่าหนึ่งอย่าง เป็นเหตุให้เกิดปัญหาขัดข้องในการเรียนรู้อย่างมาก
• เด็กปัญญาอ่อนที่สูญเสียการได้ยิน
• เด็กปัญญาอ่อนที่ตาบอด
• เด็กที่ทั้งหูหนวกและตาบอด

ประเมินตนเอง
                        - ตั้งใจฟังอาจารย์
                        - ให้ความร่วมมือกับกิจกรรมเป็นอย่างดี

ประเมินเพื่อน
                       - เพื่อนๆทุกคนให้ความร่วมมือกับกิจกรรมเป็นอย่างดี


ประเมินอาจารย์
                        - แต่งกายสุภาพเรียบร้อย
                        - มีน้ำเสียงที่น่าฟัง