วันศุกร์ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2560

การบันทึกครั้งที่ 6
วันพุธ ที่ 1  มีนาคม พ.ศ.2560
เวลา 08.30 - 12.30 น.
เนื้อหาการเรีย
                             - ก่อนเริ่มการเรียนการสอนในวันนี้ อาจารย์แจกปากกาเคมีให้นักศึกษาคนละ 1 กล่อง


                             - เข้าสู่บทเรียนเรื่อง "8.เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์"


• มีความรู้สึกนึกคิดที่ผิดไปจากปกติ                                             
• แสดงออกถึงความต้องการทำร้ายตนเองหรือผู้อื่น
มีความเชื่อมั่นในตนเองต่ำ
ลักษณะของเด็กบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
• ความวิตกกังวล (Anxiety) ซึ่งทำให้เด็กมีนิสัยขี้กลัว
• ภาวะซึมเศร้า (Depression) มีความเศร้าในระดับที่สูงเกินไป
• ปัญหาทางสุขภาพ และขาดแรงกระตุ้นหรือความหวังในชีวิต 
การจำแนกเด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ ตามกลุ่มอาการ
ด้านความประพฤติ 
• ทำร้ายผู้อื่น ทำลายสิ่งของ ลักทรัพย์
• ฉุนเฉียวง่าย หุนหันพลันแล่น และเกรี้ยวกราด
• กลับกลอก เชื่อถือไม่ได้ ชอบโกหก ชอบโทษผู้อื่น
ด้านความตั้งใจและสมาธิ
• จดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งในระยะสั้น (Short attention span) อาจไม่เกิน 20 วินาที
• ถูกสิ่งต่างๆ รอบตัวดึงความสนใจได้ตลอดเวลา
• งัวเงีย ไม่แสดงความสนใจใดๆ รวมถึงมีท่าทางเหมือนไม่ฟังสิ่งที่ผู้อื่นพูด
สมาธิสั้น 
• มีลักษณะกระวนกระวาย ไม่สามารถนั่งนิ่งๆ ได้ หยุกหยิกไปมา
• พูดคุยตลอดเวลา มักรบกวนหรือเรียกร้องความสนใจจากผู้อื่น
• มีทักษะการจัดการในระดับต่ำ
การถอนตัวหรือล้มเลิก
• หลีกเลี่ยงการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น และมักรู้สึกว่าตนเองด้อยกว่าผู้อื่น
• เฉื่อยชา และมีลักษณะคล้ายเหนื่อยตลอดเวลา
• ขาดความมั่นใจ ขี้อาย ขี้กลัว ไม่ค่อยแสดงความรู้สึก
ความผิดปกติในการทำงานของร่างกาย
• ความผิดปกติเกี่ยวกับพฤติกรรมการกิน (Eating Disorder)
• การอาเจียนโดยสมัครใจ (Voluntary Regurgitation)
• การปฏิเสธที่จะรับประทาน 
เด็กสมาธิสั้น (Children with Attention Deficit Hyperactivity Disorders)
Inattentiveness (สมาธิสั้น)
• ทำอะไรได้ไม่นาน วอกแวก ไม่มีสมาธิ
• ไม่สามารถจดจ่อกับงานที่กำลังทำได้นานเพียงพอ
• มักใจลอยหรือเหม่อลอยง่าย 
Hyperactivity (ซนอยู่ไม่นิ่ง)
• ซุกซนไม่ยอมอยู่นิ่ง ซนมาก
• เคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา
• เหลียวซ้ายแลขวา 
Impulsiveness (หุนหันพลันแล่น)
• ยับยั้งตัวเองไม่ค่อยได้ มักทำอะไรโดยไม่ยั้งคิด วู่วาม
• ขาดความยับยั้งชั่งใจ
• ไม่อดทนต่อการรอคอย หรือกฎระเบียบ 

9. เด็กพิการซ้อน 
• เด็กที่มีความบกพร่องที่มากกว่าหนึ่งอย่าง เป็นเหตุให้เกิดปัญหาขัดข้องในการเรียนรู้อย่างมาก
• เด็กปัญญาอ่อนที่สูญเสียการได้ยิน
• เด็กปัญญาอ่อนที่ตาบอด
• เด็กที่ทั้งหูหนวกและตาบอด

ประเมินตนเอง
                        - ตั้งใจฟังอาจารย์
                        - ให้ความร่วมมือกับกิจกรรมเป็นอย่างดี

ประเมินเพื่อน
                       - เพื่อนๆทุกคนให้ความร่วมมือกับกิจกรรมเป็นอย่างดี


ประเมินอาจารย์
                        - แต่งกายสุภาพเรียบร้อย
                        - มีน้ำเสียงที่น่าฟัง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น