การบันทึกครั้งที่ 8
วันพุธ ที่ 15 มีนาคม พ.ศ.2560
เวลา 08.30 - 12.30 น.
เนื้อหาการเรียน
- อาจารย์เฉลยข้อสอบกลางภาคพร้อมสนทนาพูดคุยกับนักศึกษาถึงโจทย์และคำตอบของแต่ละข้อทั้งหมด 60 ข้อ
- อาจารย์ให้นักศึกษาชมวีดีโอของเด็กที่มีความต้องการพิเศษจากรายการ Super Ten น้องช่อแก้ว
- เข้าสู่บทเรียนเรื่อง การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
รูปแบบการจัดการศึกษา
• การศึกษาปกติทั่วไป (Regular
Education)
• การศึกษาพิเศษ (Special
Education)
• การศึกษาแบบเรียนร่วม (Integrated
Education หรือ Mainstreaming)
• การศึกษาแบบเรียนรวม (Inclusive
Education)
การจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
• เด็กที่มีความต้องการพิเศษทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ถ้าได้รับโอกาสในการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับความต้องการพิเศษของเขา
ความหมายของการศึกษาแบบเรียนร่วม
• การจัดให้เด็กพิเศษเข้าไปในระบบการศึกษาทั่วไป
• มีกิจกรรมที่ให้เด็กพิเศษกับเด็กทั่วไปได้ทำร่วมกัน
• ใช้ช่วงเวลาช่วงใดช่วงหนึ่งในแต่ละวัน
การเรียนร่วมบางเวลา
(Integration)
• การจัดให้เด็กพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติในบางเวลา
• เด็กพิเศษได้มีโอกาสแสดงออก
และมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กปกติ
การเรียนร่วมเต็มเวลา
(Mainstreaming)
• การจัดให้เด็กพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติตลอดเวลาที่เด็กอยู่ในโรงเรียน
• เด็กพิเศษได้รับการจัดกระบวนการเรียนรู้และบริการนอกห้องเรียนเหมือนเด็กปกติ
ความหมายของการศึกษาแบบเรียนรวม
• การศึกษาสำหรับทุกคน
• รับเด็กเข้ามาเรียนรวมกันตั้งแต่เริ่มเข้ารับการศึกษา
• จัดให้มีบริการพิเศษตามความต้องการของแต่ละบุคคล
Wilson
, 2007
• การจัดการเรียนการสอนที่ยึดปรัชญาของการอยู่รวมกัน
(Inclusion)
เป็นหลัก
• การสอนที่ดี
เป็นการสอนที่ครูกับนักเรียนช่วยกันให้ทุกคนเป็นสมาชิกที่ดีของชุมชน
สรุปความหมายของการศึกษาแบบเรียนรวม
• เป็นการจัดการศึกษาที่จัดให้เด็กพิเศษเข้ามาเรียนรวมกับเด็กปกติ
โดยรับเข้ามาเรียนรวมกัน
ตั้งแต่เริ่มเข้ารับการศึกษาและจัดให้มีบริการพิเศษตามความต้องการของแต่ละบุคคล
บทบาทครูปฐมวัยในห้องเรียนรวม
ครูไม่ควรวินิจฉัย
• การวินิจฉัย
หมายถึงการตัดสินใจโดยดูจากอาการหรือสัญญาณบางอย่าง
ครูไม่ควรตั้งชื่อหรือระบุประเภทเด็ก
• ชื่อเปรียบเสมือนตราประทับตัวเด็กตลอดไป
- อาจารย์ให้นักศึกษาทำกิจกรรมวาดภาพดอกบัวพร้อมบรรยาย โดยอาจารย์ได้เปรียบเทียบดอกบัวเสมือนเด็กพิเศษคนหนึ่ง คือการให้ครูมองแต่สิ่งที่เห็นจริงๆไม่ควรใส่ความรู้สึกลงไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น